คำแนะนำสำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่

ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าผู้คนเริ่มให้ความสนใจออกมาทำงานส่วนตัวกันมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานเป็นฟรีแลนซ์เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่คนอยากจะมาทำสูงขึ้นเรื่อยๆ และผมก็มีฟรีแลนซ์หลายๆคนมาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อที่จะเป็นฟรีแลนซ์ที่ดี มีงานเรื่อยๆ โดยคำถามส่วนใหญ่ที่จะเจอก็ประมาณว่า

  • ฟรีแลนซ์มั่นคงหรือเปล่า
  • จะหาลูกค้าได้อย่างไร
  • จะคิดเงินอย่างไร
  • ถ้าเจอลูกค้า “ผู้น่ารักกกกก” จะรับมืออย่างไร
  • แล้วจะถูกหลอกไหม (หลอกให้ทำแล้วไม่จ่ายเงิน หรือถูกหลอกอย่างอื่นๆ)

คำถามเหล่านี้ผมเองก็เคยถามมาเหมือนกันครับในสมัยที่คิดจะมาเป็นฟรีแลนซ์แบบเต็มตัว ย้อนกลับไปเมื่อสมัยผมเรียนจบใหม่ๆ (ก็นานพอสมควรแล้วแหล่ะ ฮ่าๆ) ผมก็ยังไมมีประสบการณ์การทำงานแบบฟรีแลนซ์ Full time ตอนแรกผมก็กังวลกับอาชีพนี้นะครับว่า เอ จบมาแล้วเราจะหางานได้อย่างไร แล้วถ้าไม่มีงานเนี่ย จะเอาอะไรกิน ยิ่งผมเริ่มต้นแบบผาดโผนมาก คือเรียนจบปุ๊บก็ทำงานแบบเป็นฟรีแลนซ์ปั๊บ เงินเก็บก็ไม่มี เพราะเท่าที่มีก็เอาไปจ่ายค่าประกันเช่าบ้านอยู่ก่อน

8969237967_c5960fc544_b

สมัยนั้นคนทำฟรีแลนซ์ไม่ค่อยเยอะครับ (หมายถึงที่เรารู้จัก) ผมก็อาศัยศึกษาเอาจากอินเตอร์เน็ตนี่แหล่ะครับ ประกอบกับการลองผิดลองถูก จนถึงทุกวันนี้ผ่านมาเกือบร่วมทศวรรษแล้วที่ยืนหยัดกับการเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์แบบฟรีแลนซ์ ก็เลยพอจะมีประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังบ้าง เผื่อเรื่องราวพวกนี้จะเป็นประโยชน์กับฟรีแลนซ์ใหม่ๆที่มีข้อสงสัยเหมือนกัน

ในบทความชุดนี้ผมจะนำประสบการณ์ส่วนตัว ร่วมกับคำแนะนำของฟรีแลนซ์ท่านอื่นๆที่อยู่ในวงการมายาวนานมาเล่าสู่กันฟังครับ

[thetext]อย่างแรกเลย “จงรู้คุณค่าของตัวคุณเอง”[/thetext]

ฟรีแลนซ์มือใหม่หลายคนเริ่มต้นจากการทำงานที่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าที่ตัวเองควรจะได้ เนื่องจากการกังวลว่าตัวเองไม่มีประสบการณ์ ดังนั้นการคิดงานราคาถูกๆ จึงเหมือนเป็นหนทางเดียวที่จะได้ลูกค้า ในความเป็นจริงแล้วมันก็ถูกแค่บางส่วนนะครับ แต่การทำแบบนี้จะทำให้มูลค่าและคุณค่าของเราถูกลดลงไปด้วย ถ้างานคุณเจ๋งจริง มันย่อมต้องมีลูกค้าที่เหมาะกับคุณแน่ๆครับ ถ้าคุณไม่กล้าจะบอกราคาที่คุณคิดว่าสมเหตุสมผลสำหรับค่าแรงของคุณ คุณจะเติบโตในสายงานได้ไม่ค่อยดีนัก บางครั้งเราต้องรู้จักปฏิเสธงานที่ให้ค่าตอบแทนไม่สมเหตุสมผลบ้าง อย่ากลัวที่จะพูดคำว่าไม่นะครับ  แม้งานออกแบบหรืองานเขียนโค้ด มันดูเหมือนไม่ได้ลงทุนซื้อของมาทำเยอะแยะมากมาย แต่อย่าลืมว่าพวกเรามี “ต้นทุนทางสมอง” ที่กว่าจะมีมาได้นั้นก็ยากเย็นแสนเข็ญ “จำไว้ว่าจงมั่นใจที่จะบอกราคาที่เราต้องการ

[thetext]ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน[/thetext]

โลกเรามีสัจธรรมอยู่ข้อหนึ่งคือ ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ความแน่นอนคือความไม่แน่นอนครับ การเป็นฟรีแลนซ์ก็เหมือนกัน ความมั่นคงในสายงานนั้นมันก็พูดยากนะครับ มันอยู่ที่ว่าเรานิยามคำว่ามั่นคงกันอย่างไร บางคนมั่นคงแล้วถ้ามีเงินสักก้อน บางคนมั่นคงแล้วถ้าหาเงินซื้อบ้านได้ อะไรแบบนี้ แต่ที่ผมอยากจะแนะนำก็คือไม่อยากให้เราประมาทครับ งานฟรีแลนซ์เป็นงาน Active Income ไม่ทำก็ไม่มีรายได้ เราต้องรู้จักวางแผนชีวิตครับ ได้เงินมาก็แบ่งเก็บแบ่งใช้แบ่งลงทุน ครับ

[thetext]หมั่นเรียนรู้[/thetext]

มีความรู้เหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน คำพูดนี้มันจริงยิ่งกว่าจริง จงหมั่นหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอครับ อ่านหนังสือ นิตยสาร อ่านบล็อก และลงมือทำจริงๆเพื่อให้มีประสบการณ์ ทำเรื่องพวกนี้ให้เป็นกิจวัตร แล้วคุณจะรู้ว่ามันช่วยให้คุณมีวิสัยทัศน์และความคิดที่ก้าวไกลเพิ่มไปอีกขั้นครับ ยิ่งการได้อ่านเรื่องราวจากบรรดาผู้ประสบผลสำเร็จ พวกเค้าเหล่านั้นจะมีข้อคิดดีๆมาแนะนำให้เราได้นำไปประยุกต์ใช้ในสายงานได้

[thetext]Keep and Share รู้แล้วให้แบ่งปัน[/thetext]

เวลารู้เรื่องอะไรดีๆ อย่าเก็บเอาไว้คนเดียวครับ การแบ่งปัน บอกต่อ สอนคนอื่น มันช่วยได้เยอะ ผมใช้วิธีนี้ในการโปรโมตสายงานของผมด้วยนะครับ และมันก็ให้ผลตอบแทนที่ดีเวอร์ๆ เป็นวิธีที่ทำไม่ยากด้วยครับ อย่างผมก็จะแบ่งปันผ่านการเขียนบล็อก แชร์ลิงค์ พวกนี้มันช่วยได้จริงๆ และนี่เป็นอีกวิธีที่จะทำให้คุณได้ลูกค้าที่มีคุณภาพด้วย เพราะลูกค้าก่อนที่เค้าจะมาจ้างเรา เค้าก็อยากจะเห็นว่าเรามีประสบการณ์อะไรบ้าง ถ้าเราเคยสอน มีผลงานเขียน ลูกค้าก็ย่อมมั่นใจมากขึ้นว่าเราเหมาะกับงานของเค้าจริงๆ

ผมมีกรณีศึกษาอยู่กรณีหนึ่ง เป็นเรื่องราวของน้องที่มาเรียนทำ Theme WordPress กับผม น้องยังไม่มีประสบการณ์การทำงานจริงๆ ผมจึงแนะนำให้เริ่มต้นจากการแบ่งปันส่ิงที่ตัวเองรู้ ผ่านเว็บไซต์ของน้องเองนั่นแหล่ะ น้องคนนั้นจึงแบ่งปัน “Free Theme” ครับ คือน้องทำธีมแจกให้คนโหลดไปใช้งานได้สบายๆ แน่นอนครับมันเป็นการลงทุนที่ดูไม่มีอะไรตอบแทนมากนัก แต่จริงๆแล้วมันมีค่าตอบแทนที่ดีมากๆ นั่นก็คือ น้องมีคนรู้จักมากขึ้น สองน้องมีผลงานที่ได้ทำเองจริงๆ สามลูกค้ามองเห็นว่าน้องมีศักยภาพทำงานได้จริง เพราะถึงขนาดทำแจก และมีคนมาโหลดไปใช้งาน มันก็การันตีคุณภาพได้ระดับหนึ่งแล้ว  ผมมองว่าอนาคตของน้องคนนี้ไปได้อีกไกลครับ

[thetext]Work for Money, Design for Love[/thetext]

ขอยืมชื่อหนังสือที่ผมอ่านมาเป็นหนึ่งในข้อแนะนำนะครับ ฮ่าๆ การทำงานใดๆก็แล้วแต่ให้เราเอาความรัก เอา Passion ของเราลงไปในงานด้วยครับ ประหนึ่งว่างานชิ้นนั้นคืองานของธุรกิจของเราเอง จำไว้เสมอครับว่า เมื่อลูกค้าจ้างให้เราทำงานให้ นั่นคือเค้า “ไว้วางใจเรา” ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจของเค้านะครับ จงทำให้ออกมาดี ลองคิดดูสิครับว่าบนโลกนี้มีคนทำงานสายเดียวกับเรากี่ร้อยกี่ล้านคน แล้วเค้ามาเลือกเรา แสดงว่าเราเป็นคนพิเศษสำหรับเค้าจริงๆนะครับ อย่าทำให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป

[thetext]งานทุกอย่างมีต้นทุน[/thetext]

นอกจากต้นทุนทางสมองแล้ว เราอย่าลืมนะครับว่าเราต้องมีต้นทุนทาง Software, Hardware บลาๆ พวกนี้เราต้องนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินมูลค่างานด้วยครับ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้มันมีกำหนดอายุการใช้งาน ดังนั้นถ้าใครที่มองว่างานนี้ใช้แค่สมองอย่างเดียว ถือว่ามองผิดครับ

[thetext]ทำงานที่เหมาะกับเรา[/thetext]

ข้อนี้อาจจะดูไม่ค่อย Make Sense สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่งานยังไม่เยอะนะครับ แต่เมื่อผ่านไปและลองย้อนมองกลับไป จะเห็นว่าข้อแนะนำนี้มันเป็นข้อแนะนำที่อยากให้ทำจริงๆ ถ้าเรามีโปรเจ็คที่เราไม่ Happy ที่จะทำ ก็อย่ารับทำครับ หลายๆคนทำด้วยความฝืนใจเพราะอยากมีงานก่อน ปรากฎว่าเป็นงานที่ไม่ถนัด หรือเจอลูกค้าที่เคมีไม่ตรงกัน แก้งานกันบานเบอะ ทำให้ผิดใจกันไป กลายเป็นลูกค้าผู้น่ารัก ฟรีแลนซ์ผู้น่ารักไป แบบนี้ไม่เวิร์คครับ

วิธีการเช็คดูงานนี้เหมาะกับเราหรือเปล่า แน่ใจได้หรือไม่ว่าไม่เจอลูกค้าผู้น่ารักกกก (ผมไม่ได้มีเจตนากล่าวหาลูกค้านะครับ ผมเขียนไว้เพื่อเป็นข้อแนะนำ เพราะลูกค้าทุกท่านที่ผมร่วมงานมา ล้วนแต่เป็นลูกค้าที่เป็นมิตรมากจริงๆ และน่ารัก(แบบน่ารักจริงๆไม่ใช่น่ารักแบบประชด)

  • ดูว่างานที่ติดต่อมามีสโคปงานมากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นงานที่สโคปงานใหญ่โต แล้วให้เวลามาไม่สมเหตุสมผล แบบนี้ก็ไม่เหมาะกับเราครับ ลูกค้าส่วนมากก็อยากได้งานดีและเร็ว ถามตัวเองว่าเราทำให้เค้าได้เร็วสุดได้แค่ไหน ให้บอกเค้าไปตามตรงว่างานนี้เราสามารถรับทำได้หรือไม่ บอกไปเลยครับ
  • ลูกค้าต่อรองมากน้อยขนาดไหน เป็นเรื่องปกตินะครับสำหรับการทำงานที่เราจะเจอการขอต่อราคาบ้างอะไรบ้าง แต่ถ้าเราเจอลูกค้าแบบประมาณว่า ขอให้ทำงานหลักล้าน ขอจ่ายหลักพัน แบบนี้ก็ไม่ไหว ถ้าเป็นลูกค้าที่เหมาะกับเราจริงๆเค้าแทบจะไม่ต่อราคาเลยครับ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้เข้าใจดีว่างานที่ใช้ไอเดียมันมีต้นทุน ผมเคยอ่านเจอเรื่องราวของฟรีแลนซ์ที่รับโปรเจ็คสองหมื่นบาท ทำงานหกเดือน คิดแล้วตกเดือนละสามพันบาท น้อยกว่ารายได้ขั้นต่ำอีกแหน่ะครับ
  • เป็นงานที่เราถนัดหรือไม่ ผมเคยได้รับการติดต่อมาให้ทำงานหลายอย่างครับ เช่นให้วาดรุปให้ ให้ออกแบบปกหนังสือ ให้ออกแบบไอคอน อะไรทำนองนี้ ซึ่งไม่ใช่งานที่ผมถนัดเลย ผมถนัดการทำกราฟิกสำหรับเว็บไซต์ แต่การไปให้วาดรูป ออกแบบโลโก้เนี่ย ผมขอเซย์บาย เพราะผมทำได้แต่ไม่ได้ทำได้ในระดับที่จะไปรับงาน ฮ่าๆ ผมก็จะปฏิเสธงานทำนองนี้ไป แต่ถ้าเป็นงานออกแบบเว็บไซต์หรือ ติดต่อมาได้เต็มที่ครับ ถ้าคิวผมว่างผมก็จะพิจารณารับไว้เลย

[thetext]มีสัญญา สัญญา สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร[/thetext]

สัญญาพวกนี้เป็นผลดีทั้งต่อลูกค้าและต่อคนทำครับ เวลามีเรื่องราวอะไรมาจะได้ดูจากสัญญาที่เราทำร่วมกัน อย่างเช่น มีคนกังวลว่าจะเจอการทำงานที่ให้แก้ไม่รู้จบ เราก็ป้องกันไว้ด้วยการเขียนในใบสัญญาเลยครับว่าเราจะแก้ไขให้กี่ครั้ง ภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง เขียนให้ชัดเจนครับ สัญญานี้แหล่ะที่ช่วยให้เราไม่ถูกเสี่ยงต่อการถูกหลอกให้ทำงานฟรีด้วย มั่นใจได้ทั้งสองฝ่าย การทำสัญญาไม่ใช่ว่าเราไม่เชื่อใจกัน แต่มันมีไว้เผื่อป้องกันกรณีที่ไม่คาดฝันนะครับ

ชีวิตต้องมีความสมดุล ทำงาน และผ่อนคลาย
ชีวิตต้องมีความสมดุล ทำงาน และผ่อนคลาย

[thetext]อย่ายอมแพ้ง่ายเกินไป[/thetext]

อย่าไปหลงกับกับดักเรื่องความสำเร็จชั่วข้ามคืนครับ มันไม่มีอยู่จริงๆหรอก ฟรีแลนซ์ที่ก้าวไปสู่จุดที่คนรุ้จักเยอะๆ เค้าลงมือลงแแรงทำอะไรมากต่อมากแล้วครับ แล้วเราในฐานะฟรีแลนซ์มือใหม่ เพิ่งก้าวเข้ามาสู่สายงานนี้ จะมาหวังให้แจ้งเกิดเพียงพริบตามันเป็นไปได้ยากครับ จงอดทน “คนที่เป็นมือโปร เค้าผ่านงานมาไม่ต่ำกว่าหมื่นชั่วโมง

และนี่คือข้อแนะนำที่ผมอยากจะแนะนำคนที่สนใจในสายงานฟรีแลนซ์นะครับ เผื่อจะมีประโยชน์ หากท่านใดมีข้อแนะนำเพิ่มเติมก็เล่าสู่กันฟังได้นะค้าบ :) แล้วเจอกันใหม่บทความตอนหน้าครับผม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก